- Crown and Bridge -
“ฟัน” คือสิ่งสำคัญของคนเราที่จะช่วยในการบดเคี้ยวอาหาร รวมไปถึงการพูดจาสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักมีปัญหาฟันเสียหายในหลายๆ สาเหตุ ทั้งฟันผุ ฟันเปราะ ฟันหัก รากฟันเสียหาย จึงได้มีนวัตกรรมสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับการ ครอบฟัน และ สะพานฟัน (Crown and Bridge) ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้ถึงความแตกต่างของการฟื้นฟูฟันที่เสียหายทั้ง 2 แบบนี้ แล้วแบบไหนบ้างที่จะมีความเหมาะสมกับฟันที่เสียหายไป โดยรายละเอียดทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

สรุปหัวข้อสำคัญ ครอบฟันและสะพานฟัน
ความแตกต่างของ ครอบฟัน และ สะพานฟัน เป็นอย่างไร
การแพทย์สมัยนี้ถ้าหากพบว่าฟันแท้มีการเสียหายอย่างหนัก จำเป็นจะต้องรักษาด้วยการครอบฟันและสะพานฟัน ที่ถือว่าเป็นการนำนวัตกรรมมาสร้างฟันขึ้นมาใหม่ ทั้ง 2 แบบ แตกต่างดังต่อไปนี้
ครอบฟัน (Crown)
ครอบฟัน คือการสร้างเนื้อฟันเพื่อมาครอบกับเนื้อฟันแท้ที่เสียหายอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นฟันผุที่มากจนเกินไป ประสบอุบัติเหตุจนฟันบิ่นหนัก หรือเนื้อฟันเหลือน้อย ทางทันตแพทย์ก็จะสร้างที่ครอบฟันขึ้นมาเพื่อครอบฟันแท้เพื่อเป็นการทำให้เนื้อฟันที่เหลืออยู่ยังคงมีอยู่นั่นเอง
สะพานฟัน (Bridge)

เจาะลึกเรื่องการครอบฟันแบบละเอียด
ฟันแบบใดต้องการการรักษาแบบ ครอบฟัน
- ฟันผุที่มีขนาดใหญ่ หรือฟันผุที่มีความลึก จนไม่สามารถที่จะอุดฟันตามปกติได้ การครอบฟันลงไปจะสามารถป้องกันฟันผุไม่ให้ลุกลามได้
- เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับฟัน ไม่ว่าจะเป็นฟันแตกบิ่นจนเสียรูปทรงเดิมทำให้หมดความมั่นใจ ก็สามารถรักษาโดยการครอบฟันลงไปได้
- สามารถเกิดได้กับผู้ที่ทำการรักษาคลองรากฟันและเหลือเนื้อฟันน้อยมากๆ จึงจำเป็นต้องใช้การฟื้นฟูแบบวิธีครอบฟัน
ทันตกรรม ครอบฟัน มีด้วยกัน 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
การครอบฟัน กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะทำให้ท่านสามารถบดเคี้ยวอาหารได้ปกติ โดยทางทันตแพทย์จะมีการครอบฟันจากวัสดุหลากหลายชนิดด้วยกัน อาทิ เซรามิค พอร์เซเลน Zirconia โลหะผสมทอง ทอง โลหะ ซึ่งวัสดุที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้น ล้วนเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง และจะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งแต่ละชนิดได้มีการออกแบบขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความสวยงาม ความเสมือนจริง ความเหมาะสมแก่การใช้งานในตำแหน่งฟันต่างๆ
- การครอบฟันประเภทเซรามิกผสมกับโลหะ : การครอบฟันประเภทเซรามิกผสมกับโลหะ จะทำให้ท่านได้ฟันที่เหมือนจริงคล้ายกับฟันแท้ ซึ่งทางทันตแพทย์มักจะมีการแนะนำให้ใช้การครอบฟันแบบเซรามิคผสมกับโลหะทดแทนฟันกรามที่มีความแข็งแรงเพื่อที่จะบดเคี้ยวอาหารได้เป็นอย่างดี
- การครอบฟันประเภทเซรามิคล้วน : ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะมีการแนะนำการครอบฟันแบบเซรามิคล้วน เพื่อที่จะใช้ทดแทนฟันหน้า เพราะตัวครอบฟันจะมีความใส มีความสวยงามเหมือนฟันแท้ เวลายิ้มออกมาก็จะเนียนเหมือนกับฟันจริงๆ
- การครอบฟันประเภทโลหะล้วน : ครอบฟันประเภทโลหะล้วนจะทำให้ฟันมีความทนทาน และมีความแข็งแรงมากที่สุดกว่าการครอบฟันประเภทอื่นๆ นิยมใช้บริเวณฟันกรามในรายที่มีแรงบดเคี้ยวสูง เช่น มีภาวะนอนกัดฟัน (Bruxism)

การครอบฟัน มีข้อดีอย่างไรบ้าง ?
- การครอบฟัน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่สามารถช่วยบูรณะฟันของทุกท่านให้กลับมามีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และช่วยทำให้การบดเคี้ยวอาหารได้ดีกว่าเดิม
- การครอบฟัน จะเป็นตัวช่วยที่สามารถทำให้การปรับเรียงตัวของฟัน มีความสม่ำเสมอ เทียบเท่ากับการทำวีเนียร์
- การครอบฟัน จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ฟันธรรมชาติ มีความผิดปกติจากโครงสร้างของฟันที่มีความอ่อนแอ
การ ครอบฟัน มีข้อเสียอย่างไรบ้าง ?
- การทำครอบฟัน จะต้องมีการกรอบริเวณเนื้อฟันออกในปริมาณที่มาก เหมาะสำหรับผู้ที่เนื้อฟันหลักมีสภาพไม่ดีและต้องการบูรณะฟันเพื่อความแข็งแรง
- หากเปรียบเทียบกับการอุดฟัน การทำครอบฟันจะมีราคาที่สูงกว่า
- เมื่อทำครอบฟันไปแล้ว ฟันที่อยู่ในครอบฟันอาจจะเกิดการผุได้ ดังนั้นทางรักษาที่ดี ผู้ทำครอบฟันจะต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ และจะต้องหมั่นตรวจสุขภาพฟันที่ครอบไปกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
เจาะลึกเรื่องการสะพานฟันแบบละเอียด
ฟันแบบใดต้องการรักษาแบบสะพานฟัน
- สะพานฟันนับว่าเป็นฟันปลอมชนิดติดแน่น ที่จะช่วยเติมฟันอย่างน้อย 1 ซี่ที่หายไป โดยยึดฟันจากซี่ฟันข้างเคียงที่ผ่านการกรอแต่งแล้ว
- สะพานฟันสามารถทำได้มากกว่า 1 ซี่ หรือเชื่อมต่อเป็นหลายๆ ซี่ โดยจะต้องมีที่ยึดเป็นฟันแท้อยู่ที่ตำแหน่งด้านหน้าและด้านหลังฟันที่สูญเสียไป
- สะพานฟันถือว่าเป็นฟันปลอมอีกรูปแบบที่ได้รับความนิยม เพราะไม่จำเป็นต้องถอดเปลี่ยนเพื่อล้างหรือทำความสะอาดตลอดเวลาได้

สะพานฟัน ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้
การทำสะพานฟันสามารถทำได้จากวัสดุหลายชนิดด้วยกัน อาทิ โลหะ ทองคำ Zirconiaเซรามิค Porcelain หรือเป็นส่วนผสมจากหลายๆ อย่าง โดยสะพานฟันจะมีการถูกใช้เพื่อที่จะเป็นการฟื้นฟูการทำงาน และสร้างความสวยงามให้กับรอยยิ้ม ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันที่ข้างเคียงล้มไปยังฟันซี่ที่หายไป
1. ส่วนที่ได้มีการยึดติดกับฟันธรรมชาติ (Abutment)
ก็คือ ส่วนที่ได้มีการสวมลงไปเพื่อที่จะครอบเข้ากับฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียงหรือที่เรียกกันว่าซี่ให้ใช้ยึด สำหรับวัสดุที่ได้มีการนำมาใช้ในการทำสะพานฟัน จะเป็นวัสดุที่มีชนิดเดียวกันกับการทำครอบฟัน อาทิ เซรามิคล้วน Zirconia โลหะล้วน หรือแบบเซรามิคผสมโลหะ เป็นต้น
2. ฟันลอย (Pontic)
โดยสะพานฟันซี่ดังกล่าวนี้จะมีการลอยอยู่เหนือเหงือก ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างหลักยึดฟันทั้ง 2 ซี่ โดยจะเป็นตัวช่วยในการนำฟันลอยมาใส่ในจุดที่ฟันถูกถอนไป สามารถที่จะใช้เพื่อบดเคี้ยวอาหารได้ปกติเพราะมีความแข็งแรงทนทาน ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความมั่นใจในการยิ้มได้เป็นอย่างดี
การทำสะพานฟัน มีด้วยกัน 3 ประเภท
- การทำสะพานฟันแบบธรรมดา : สำหรับการทำสะพานฟันแบบธรรมดาจะเป็นการนำครอบฟันลอยมาใช้ โดยจะเชื่อมต่อกับฟันซี่ข้างๆ ให้ยึดติดกันได้เป็นอย่างดี โดยการทำสะพานฟันนี้เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
- การทำสะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว : การทำสะพานฟันประเภทมีหลักยึดข้างเดียว โดยจะมี ซี่ฟันข้างเคียง แค่เพียงซี่เดียว สำหรับการใช้ในการยึดสะพานฟัน
- การทำสะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ : การทำสะพานฟันด้วยเรซิน แต่ตัวแกนจะเป็นโลหะเป็นตัวยึดฟันที่เป็นปัญหา และจะมีการใช้โลหะทำการเชื่อมต่อกับฟันซี่ข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน
การทำสะพานฟัน มีข้อดีอย่างไรบ้าง ?
- ทำสะพานฟัน ช่วยทำให้ทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป
- การทำสะพานฟัน จะช่วยลดปัญหาการล้มของซี่ข้างเคียง มายังบริเวณช่องว่างได้
- สำหรับการทำสะพานฟัน จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติได้
การทำสะพานฟัน มีข้อเสียอย่างไรบ้าง ?
- การทำสะพานฟันแต่ละครั้ง จะต้องมีการกรอฟันซี่ข้างเคียง
- วิธีการทำสะพานฟัน อาจจะทำให้กาวหรือซีเมนต์ยึดติดหมดอายุตามกาลเวลา
- การทำสะพานฟัน เสาที่ใช้ยึดสะพานฟัน ยังคงเป็นฟันตามธรรมชาติ ดังนั้นอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้มีการผุของฟันเพิ่มเติมได้ในภายหลัง
- สำหรับการทำสะพานฟัน จะต้องระวังเรื่องการทานอาหารอย่างการบดเคี้ยว
- หลังจากทำสะพานฟันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องเข้าพบแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
ปัจจุบันนิยมทำ รากฟันเทียม (Implant) เพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปมากกว่าการทำสะพานฟันเนื่องจากไม่ต้องมีการกรอเนื้อฟันเดิม และมีการทำฟันปลอมเฉพาะซี่ที่หายไป ไม่ต้องเป็นลักษณะฟันปลอมติดกันยาวต่อเนื่องทั้งชิ้น
การทำสะพานฟัน มีราคาเท่าไหร่ ?
สำหรับการทำสะพานฟัน ราคาจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น จำนวนซี่ และรวมไปถึงวัสดุที่ใช้สำหรับผลิตสะพานฟัน ก็จะมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งทางทันตแพทย์จะเป็นผู้เลือกวัสดุที่มีความเหมาะสมกับซี่ฟันของผู้ป่วย รวมไปถึงการใช้งาน สำหรับราคาของการทำสะพานฟันทั่วไปจะเริ่มต้นที่ 9,000 บาทถึง 24,000 บาทต่อซี่ แต่ถ้าหากต้องการใช้วัสดุที่เป็นสีเหมือนฟันแบบ Zirconia ทั้งชิ้น ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 16,000 บาทต่อซี่

ขั้นตอนของการรักษา ครอบฟัน และ สะพานฟัน ?
ก่อนที่จะเริ่มการรักษาเรื่องครอบฟันและสะพานฟันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผ่านการตรวจกับทางทันตแพทย์แล้วว่าตกลงจะทำแบบใด พร้อมกันนั้นก็จะอธิบายถึงปัญหาในภายภาคหน้าที่จะเกิดขึ้นหากไม่ทำ และเมื่อตัดสินใจว่าจะทำ จะเริ่มมีการนัดหมาย ดังนี้
สำหรับการรักษา รายการพิมพ์ฟันหรือสแกนฟัน 3 มิติ
- ทันตแพทย์จะมีการเริ่มต้นด้วยการตรวจวินิจฉัย และการเตรียมฟัน ก่อนอื่นมีการฉีดยาชา ก่อนการกรอฟัน สำหรับการกรอฟันเพื่อที่จะเป็นฐานของการ ครอบฟันและสะพานฟัน
- ทันตแพทย์จะมีการจดบันทึก สีของฟัน ขนาดของฟัน รวมไปถึงรูปร่างของฟัน และจะมีการพิมพ์ปากหรือสแกนฟัน 3 มิติ เพื่อที่จะถูกส่งไปยังห้องแลปเพื่อที่จะทำการ ครอบฟัน และสะพานฟันของจริง ระหว่างนี้จะมีการทำฟันชั่วคราวใส่ให้ไปก่อน
ขั้นตอนการใส่ สะพานฟัน และครอบฟันตัวจริง
ทันตแพทย์จะมีการนัดมาใส่ ครอบฟันและสะพานฟัน แบบถาวร ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการรื้อฟันที่ใช้ชั่วคราวออกก่อน จากนั้นทันตแพทย์ทำการตรวจเช็กฟัน และปรับแต่งอีกครั้งเพื่อให้เข้ากับฟันของผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งการครอบฟัน และสะพานฟันแบบถาวร จะมีความแข็งแรง และจะมีความสวยงามเสมือนกับฟันธรรมชาติ สามารถใช้งานได้ปกติ บดเคี้ยวอาหารได้ปกติเช่นเดิม
การดูแลรักษา ครอบฟัน และสะพานฟัน มีขั้นตอนการดูแลรักษาอย่างไรบ้าง ?
สำหรับขั้นตอนการดูแลรักษา ครอบฟันและสะพานฟัน ทันตแพทย์มักจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลทำความสะอาด เพื่อที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้มีระยะยาวนานมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้
- การแปรงฟัน : การแปรงฟัน หลังจากการทำ ครอบฟัน และสะพานฟัน ผู้ป่วยจะต้องแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร โดยจะต้องแปรงฟันบริเวณผิวด้านบน และจะต้องแปรงบริเวณด้านข้างของฟัน เสมือนกับการแปรงฟันทั่วไป แต่สำหรับบางกรณีควรใช้แปรงบริเวณซอกฟัน เพื่อที่จะทำความสะอาดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันร่วมด้วย เพื่อที่จะทำให้มีความสะอาดมากยิ่งขึ้น
- การใช้ไหมขัดฟัน : ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟัน และใต้สะพานฟัน เคลียร์เศษอาหาร รวมไปถึงแบคทีเรียบริเวณซอกฟัน ดังนั้นควรใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- การพบทันตแพทย์ : หลังจากทำครอบฟัน และสะพานฟัน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์มักจะแนะนำ ให้ผู้ป่วยกลับมาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง เพื่อที่จะตรวจเช็ค
ประโยชน์ของการทำ ครอบฟัน และสะพานฟัน?
การทำ ครอบฟัน และสะพานฟัน จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้รูปร่างของฟันกลับมาเป็นเหมือนเดิม และประสิทธิภาพการใช้งานของฟันที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะสามารถเห็นได้ตั้งแต่การบดเคี้ยวอาหาร ช่วยสร้างให้มีรอยยิ้มที่สวยงาม สามารถยิ้มได้แบบมั่นใจ ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่มันฟันเสียหายระดับลึกจนไม่สามารถที่จะอุดฟัน หรือเกิดอุบัติเหตุอย่างหนัก
ข้อปฏิบัติ คำแนะนำ หลังจากการทำ ครอบฟัน และสะพานฟัน
- เมื่อทำ ครอบฟัน และ สะพานฟัน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวอาหารที่มีความแข็ง และมีความเหนียว ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้มีการยึดติดการครอบฟัน และสะพานฟัน โดยช่วงระยะเวลาดังกล่าวผู้ป่วยควรเริ่มจากการรับประทานอาหารอ่อน รอจนกว่าจะเคยชินกับการครอบฟันใหม่ และสะพานฟันใหม่
- การทำครอบฟัน ใต้สะพานฟัน สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการต่างๆ อาทิ อาการบวม ได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ โดยส่วนผสมของน้ำเกลือ ประกอบไปด้วย เกลือ 1 ช้อนชา น้ำอุ่น 1 แก้ว ซึ่งจะต้องบ้วนน้ำเกลืออย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
- การดูแลทำความสะอาด หลังจากการครอบฟัน และสะพานฟัน ผู้ป่วยจะต้องดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดครอบฟัน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงเกี่ยวกับปัญหาการเกิดโรคเหงือกตามมาทีหลัง
- อาการเสียวฟัน หลังจากการทำครอบฟัน และสะพานฟัน อาจจะเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน

สรุป ครอบฟัน สะพานฟัน
การ ครอบฟัน และ สะพานฟัน นับว่าเป็นสิ่งที่สามารถช่วยฟื้นฟูหรือซ่อมแซมฟันที่สูญหายได้เป็นอย่างดี โดยแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีและข้อเสีย ที่มีความแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นก็จะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการ และปัญหาสุขภาพในช่องปากของแต่ละบุคคล รวมไปถึงดุลพินิจของทันตแพทย์ ว่าจะต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีไหน จึงจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับฟันของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
ปัจจุบันฟันปลอมติดแน่นที่มาแทนที่สะพานฟันได้เป็นอย่างดี คือ รากฟันเทียม (Implant) ซึ่งสามารถใส่ทดแทนฟันได้ตั้งแต่ 1 ซี่ ขึ้นไป โดยไม่ต้องมีการกรอเนื้อฟันธรรมชาติข้างเคียง โดยที่ค่ารักษายังไม่แตกต่างกับการทำสะพานฟันอีกด้วย
แน่นอนว่าสำหรับใครที่อยากมีรอยยิ้มสวยๆ อยากมีฟันแท้อยู่กับเราไปนานๆ ก็จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี หมั่นทำความสะอาดฟันอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพของฟันบ่อยครั้ง และควรเลือกปรึกษา รวมถึงทำฟันกับทันตแพทย์ที่มีความชำนาญ ได้รับการรับรองผ่านทางมาตรฐานระดับสากล เพื่อที่จะทำให้ทุกการรักษาของท่านมีความปลอดภัย